214 จำนวนผู้เข้าชม |
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 มีการประชุมที่ตึกกองบัญชาการ 2 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อแก้ปัญหาการร้องเรียนจากประชาชน โดยมี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยความเป็นธรรมและเร่งรัดการปฏิบัติราชการ เป็นประธานในการประชุมเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีค่าเยียวยาจากอุบัติเหตุรถบรรทุกพุ่งชนแผงคอนกรีต ที่ปิดกั้นพื้นที่ก่อสร้างบนทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ทางหลักขาออกกรุงเทพฯ ประมาณกิโลเมตรที่ 35 + 475 จนทำให้ผู้เสียหายต้องสูญเสียขา 1 ข้าง ทั้งนี้ภายหลังเกิดเหตุได้มีการเจรจาตกลงค่าชดเชยและเยียวยาจากกรณีอุบัติเหตุดังกล่าว โดยผู้บาดเจ็บเรียกร้องเงินเยียวยา จำนวน 500,000 บาท แต่ผู้รับเหมาเสนอจ่ายได้เพียง 200,000 บาท ทำให้ตกลงกันไม่ได้ จนผู้เสียหายร้องเรียนขอความเป็นธรรมกรณีที่ต้องตัดขาข้างหนึ่งจนกลายเป็นผู้พิการ
ทั้งนี้ นายพีระพันธุ์ ได้เชิญผู้รับผิดชอบในพื้นที่ก่อสร้าง สังกัดกรมทางหลวง เพื่อเข้ามารายงานข้อเท็จจริง ทำให้ทราบว่า แม้ที่ผ่านมาได้มีการเจรจากันไปแล้วระหว่างผู้เสียหายกับผู้รับเหมา แต่ไม่สามารถเจรจาตกลงจำนวนค่าเสียหายได้ ซึ่งกรมทางหลวงระบุว่า การเจรจาดังกล่าวเป็นการดำเนินการของผู้รับเหมา โดยกรมทางหลวงไม่ได้เข้าไปมีส่วนในการร่วมเจรจาด้วย ทั้งๆ ที่เป็นเจ้าของโครงการและเป็นหน่วยงานของภาครัฐที่ควรต้องแสดงความรับผิดชอบด้วย อีกทั้งยังได้รับข้อมูลว่า มีผู้เกี่ยวข้องไปอ้างว่ารู้จักกับนักการเมืองชื่อดัง เพื่อข่มขู่เจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้เสียหายด้วย
.
นายพีระพันธุ์ กล่าวถึงปัญหาร้องเรียนกรณีนี้ว่า ตนอยากให้ผู้รับผิดชอบมองเรื่องนี้ในมุมของมนุษยธรรม และความถูกต้อง โดยให้คิดถึงว่า ถ้ากรณีนี้เป็นตัวเองหากต้องสูญเสียขาไปจะรู้สึกอย่างไร นอกจากนี้ ตนยังได้รับรายงานว่าด้านผู้รับเหมาเสนอเงินเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายเพียง 150,000 บาท มิใช่ 200,000 บาท ผู้เสียหายจึงไม่ยอมรับเงินเยียวยาจำนวนดังกล่าว อีกทั้งเงินจำนวน 500,000 บาท ที่ผู้เสียหายเรียกร้องถ้าเทียบกับกำไรและมูลค่าโครงการของกรมทางหลวงและธุรกิจของผู้รับเหมาและขาที่ต้องเสียไปนั้นถือว่าน้อยมาก
รายงานข่าวแจ้งว่า นายพีระพันธุ์ ได้สอบถามเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมทางหลวงว่า ถ้าเขาเสนอเงินให้ 1 ล้านบาท แลกกับการตัดขาออกข้างหนึ่งจะเอาไหม ถ้าเอาให้ยกมือขึ้นเลย ปรากฎว่าไม่มีใครยกมือ นายพีระพันธุ์จึงถามว่า แล้วทำไมผู้เสียหายเขาเรียกร้อง 500,000 บาท กลับไม่ให้เขา ทั้งที่โครงการมีมูลค่ามหาศาล มีกำไรตั้งเท่าไหร่ แต่เขาเรียกร้องเท่านี้กลับไม่ยอมจ่ายให้เขา จึงขอให้รีบดำเนินการพิจารณาจ่ายให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วันนี้ และให้กลับมารายงานด้วย
ล่าสุดวานนี้ (26 ต.ค.) ผู้รับเหมาก่อสร้างรายดังกล่าว ได้ยอมจ่ายค่าเยียวยาแก่ผู้เสียหายแล้วจำนวน 500,000 บาท ตามคำเรียกร้อง หลังจากได้เรียกร้องขอความเป็นธรรมไปยังประธานคณะกรรมการอำนวยความเป็นธรรมและเร่งรัดการปฏิบัติราชการ ขณะที่ด้านผู้เสียหายได้ขอขอบคุณนายพีระพันธุ์ ที่ให้การช่วยเหลือและทำให้ทุก